วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เขาพระวิหาร


อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อยู่ในพื้นที่ของ อำเภอน้ำยืน อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ (130 ตารางกิโลเมตร) อาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารบริเวณผามออีแดง ในตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541) นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และกรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารมีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง เช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤๅษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตวล และที่สำคัญคือ ปราสาทเขาพระวิหาร อันเป็นโบราณสถานสำคัญเก่าแก่ ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อพ.ศ. 2505 และในที่สุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทอยู่ในอธิปไตยของประเทศกัมพูชา แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ทางฝั่งไทย และพื้นที่ทางขึ้นบริเวณผามออีแดงที่จังหวัดศรีสะเกษเป็นทางขึ้นที่สะดวกที่สุด

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ลาดเอียงไปทางทิศเหนือกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เนินเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยลำธารต่าง ๆ ได้แก่ ห้วยตามาเรีย ห้วยตานี ห้วยตาเงิด ห้วยตุง ห้วยตะแอก และห้วยบอน เป็นต้น

 

ความเป็นมาของคดีการให้การทางวาจา (Oral Hearings) ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)ในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ขอให้ตีความคำพิพากษาของศาลเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 กรณีปราสาทพระวิหาร (กัมพูชาฟ้องร้องไทย)

      ในคำร้องนี้   กัมพูชาอ้างข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ซึ่งกำหนดว่า “ในกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา ศาลฯ จะตีความคำพิพากษาเมื่อมีการร้องขอโดยคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” และกัมพูชาอ้างข้อ 98 ของข้อบังคับศาลด้วย
      โดยการอ้างอิงข้อบทดังกล่าว กัมพูชาระบุในคำร้องของตนถึง “ประเด็นในข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา” ที่เป็นปัญหา กัมพูชากล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงว่า “(1) สำหรับกัมพูชา คำพิพากษา (ที่ตัดสินโดยศาลในปี ค.ศ. 1962) อยู่บนพื้นฐานของเส้นเขตแดนที่มีอยู่แล้ว ซึ่งกำหนดขึ้นและยอมรับโดยรัฐทั้งสอง (2) สำหรับกัมพูชา เส้นเขตแดนนั้นได้ถูกกำหนดโดยแผนที่ซึ่งศาลอ้างถึงในหน้า 21 ของคำพิพากษา ... แผนที่ซึ่งทำให้ศาลตัดสินว่าอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นผลโดยตรงและอัตโนมัติจากอธิปไตยของกัมพูชาเหนือดินแดนที่ปราสาทตั้งอยู่ (3) สำหรับกัมพูชา ไทยมีพันธกรณี (ตามคำพิพากษา) ที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือเจ้าหน้าที่อื่นจากบริเวณใกล้เคียงปราสาทบนดินแดนของกัมพูชา ... นี่เป็นพันธกรณีทั่วไปและต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากถ้อยแถลงเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนของกัมพูชา ซึ่งยอมรับโดยศาลในบริเวณนั้น” โดยกัมพูชาอ้างว่า “ไทยไม่เห็นด้วยกับประเด็นเหล่านี้ทั้งหมด”
      ในวันเดียวกันกับที่ยื่นคำร้อง กัมพูชายื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลออกมาตรการชั่วคราวด้วย โดยเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนและความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายที่ไม่อาจชดเชยได้ ทั้งนี้ กัมพูชา “ร้องขอด้วยความเคารพยิ่งให้ศาลกำหนดมาตรการชั่วคราวระหว่างรอคำพิพากษา ดังต่อไปนี้
  • การถอนกำลังของฝ่ายไทยทั้งหมดออกจากดินแดนเหล่านั้นของกัมพูชาซึ่งอยู่ในพื้นที่ของปราสาทพระวิหาร
  • ห้ามกิจกรรมทางทหารทั้งหมดโดยไทยในพื้นที่ของปราสาทพระวิหาร
  • ให้ไทยละเว้นจากการกระทำหรือการดำเนินการใดซึ่งอาจก้าวก่ายสิทธิของกัมพูชาหรือทำให้ข้อพิพาทในคดีหลักรุนแรงขึ้น
      การนั่งพิจารณาของศาลเกี่ยวกับคำขอให้กำหนดมาตรการชั่วคราวดังกล่าวได้มีขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 30 และอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2554
      ระหว่างการนั่งพิจารณาของศาลดังกล่าว   ไทยได้ยืนยันว่าไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษาปี 2505   ทั้งนี้ ไทยไม่เคยโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ดังที่ยอมรับไว้ในวรรคแรกของข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ยิ่งไปกว่านั้นไทยอ้างด้วยว่า
      ไม่เคยโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ว่าไทยมีพันธกรณีที่ต้องถอนกำลังทหารออกจากปราสาทและบริเวณใกล้เคียง เท่าที่กำลังเหล่านั้นอยู่ในดินแดนกัมพูชา ไทยโต้แย้งว่าพันธกรณี “ณ ขณะนั้น” ได้รับการปฏิบัติตามอย่างครบถ้วนโดยไทยแล้วและไม่สามารถนำไปสู่คำพิพากษาตีความ และไทยยืนยันว่าด้วยเหตุนี้ ศาลจึงขาดอำนาจอย่างชัดเจนที่จะ “ตัดสินคำขอให้ตีความของกัมพูชา” และกำหนดมาตรการชั่วคราวดังที่ผู้ร้องขอ
      ในตอนท้ายของข้อสังเกตทางวาจารอบสอง   กัมพูชาได้ย้ำคำขอของตนให้มีการกำหนดมาตรการชั่วคราว ตัวแทนประเทศไทยจึงได้มีคำขอต่อไปนี้ในนามรัฐบาลไทย “ตามข้อ 60 ของข้อบังคับศาล และเมื่อพิจารณาคำขอให้มีการกำหนดมาตรการชั่วคราว และคำร้องทางวาจา ของราชอาณาจักรกัมพูชา ราชอาณาจักรไทยร้องขอต่อศาลด้วยความเคารพยิ่งให้จำหน่ายคดีที่ยื่นโดยราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 จากสารบบ”
      เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 ศาลได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอให้มีการกำหนดมาตรการชั่วคราว ซึ่งยื่นโดยกัมพูชา ศาลให้ข้อสังเกตแต่แรกว่า “ในชั้นต้นดูเหมือนจะมีข้อพิพาท” ระหว่างคู่ความเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษาปี 2505 และสรุปว่าศาลไม่อาจยอมทำตามคำร้องขอของไทยให้คดีที่เสนอโดยกัมพูชาถูกจำหน่ายออกจากสารบบ จากนั้นศาลได้กำหนดมาตรการชั่วคราวต่าง ๆ   ศาลตัดสินด้วยว่าคู่ความแต่ละฝ่ายควรแจ้งศาลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวเหล่านั้น และจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคำขอให้ตีความ ศาลจะยังคงอำนาจในเรื่องซึ่งเป็นประเด็นแห่งคำสั่ง (ดูรายงานประจำปีของศาล ค.ศ. 2010-2011)
      ตามข้อ 98 วรรค 3 ของข้อบังคับศาล ศาลได้กำหนดวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 เป็นเวลาสิ้นสุดการเสนอข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษรโดยไทยเกี่ยวกับคำขอให้ตีความที่ยื่นโดยกัมพูชา ข้อสังเกตเหล่านี้ได้ถูกยื่นภายในเวลาที่กำหนด
      นอกจากนี้ ตามข้อ 98 วรรค 4 ของข้อบังคับศาล ศาลได้ตัดสินใจที่จะให้โอกาสคู่ความที่จะยื่นคำอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Explanations) และได้กำหนดวันที่ 8 มีนาคม 2555 และ 21 มิถุนายน 2555 เป็นเวลาสิ้นสุดสำหรับการยื่นคำอธิบายดังกล่าวโดยกัมพูชาและโดยไทยตามลำดับเอกสารคำร้องดังกล่าวได้ถูกยื่นภายในเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ตามข้อบทเดียวกัน ศาลได้ตัดสินใจที่จะให้โอกาสคู่ความที่จะมีการอธิบายเพิ่มเติมทางวาจา (Further Oral Explanations) ตารางเวลาของการนั่งพิจารณาที่ได้กำหนดขึ้น คือ
  รอบแรกของการให้การทางวาจา(เวลาที่กรุงเฮก)(เวลาที่กรุงเทพฯ)
 วันจันทร์ 15 เมษายน 2556 - โดยกัมพูชา10.00 – 13.00 น.15.00 – 18.00 น.
15.00 – 16.30 น.20.00 – 21.30 น.
 วันพุธ 17 เมษายน 2556 - โดยไทย10.00 – 13.00 น.15.00 – 18.00 น.
15.00 – 16.30 น.20.00 – 21.30 น.
 รอบสองของการให้การทางวาจา(เวลาที่กรุงเฮก)(เวลาที่กรุงเทพฯ)
 วันพฤหัสบดี 18 เมษายน 2556 - โดยกัมพูชา15.00 – 17.00 น.20.00 – 22.00 น.
 วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2556 - โดยไทย15.00 – 17.00 น.20.00 – 22.00 น.

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทความวันแม่

บทความวันแม่ เขียนถึง… แม่


เขียนถึง... แม่ -1
ตั้งแต่เด็กมาแล้วไม่ว่างานวันแม่ของโรงเรียนปีไหนๆ ฉันก็ทำได้เพียงอยู่ด้านหลังเป็นเด็กกลุ่มเล็กๆที่ไม่มีแม่มาร่วมงาน ฉันเข้าใจดีว่างานของแม่ไม่มีวันหยุดจึงไม่แปลกอะไรที่ฉันจะชินกับงานวันแม่ที่ฉันต้องมองคนอื่นกราบแม่กัน ไม่เคยนึกอิจฉาใครหรือร่ำร้องจะพาแม่มาร่วมงานเหมือนกับที่เห็นหลายๆคนเป็น
เขียนถึง... แม่ -3
แม่ไม่เคยมารับฉันที่โรงเรียนเหมือนกับเพื่อนร่วมชั้น แม่ไม่เคยทำกับข้าวให้กินเพราะที่บ้านมีคนทำแล้ว แม่ไม่เคยรีดเสื้อให้เพราะมีพี่สาวของฉันเป็นคนทำ แม่ไม่เคยเล่านิทานให้ฟังเพราะกว่าแม่จะเข้าบ้านฉันก็หลับไปพร้อมกับละครหลังข่าวทุกที อะไรหลายๆอย่างที่แม่คนอื่นทำให้ลูก แม่ฉันไม่เคยทำให้หรอก งานและภาระของแม่ดึงเอาเวลาที่มีต่อฉันไปจนหมด แต่แปลก…ฉันไม่เคยเลยที่จะรู้สึกว่าช่วงเวลาที่แม่รักฉันขาดหายไปด้วย ไม่เคยนึกโกรธที่แม่แตกต่างจากคำว่า ‘แม่ในอุดมคติ’
เขียนถึง... แม่ -4
ชีวิตเรียบๆ เรื่อยๆ ของฉันมีแม่เป็นต้นแบบมาตลอด แต่แปลก…ฉันกลับไม่สามมารถเหมือนแม่ได้ทั้งหมด แม่เป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ใจดี แม่ให้ทั้งกับคนที่ให้และไม่ให้ แม่ไม่เคยโกรธใคร ไม่เคยว่าร้ายใคร แม่ไม่เคยคิดจะเอาชนะใคร แม่ไม่เคยทะเลาะกับใคร แม่ถือคติว่า ‘ใครทำอะไรก็ช่างเขา เราอโหสิให้’ แต่ฉันสิกลายเป็นด้านมืดเลยทีเดียวเมื่ออยู่กับแม่ เวลาที่ฉันโมโหใครแม่ก็จะบอกว่า “โหสินะโหสิ”นั่นล่ะคำพูดติดปากเลยทีเดียว ไม่ว่าใครทำอะไรกับแม่หรือครอบครัวแม่ก็ให้อภัยเขาเสมอจนบางทีฉันก็รู้สึกว่ามันมากเกินไป และเพราะความที่แม่เป็นแบบนี้ทำให้ฉันเคยรู้สึก ‘โกรธแม่’
เขียนถึง... แม่ -5
ช่วงเวลาหนึ่งปัญหาใหญ่ได้ผ่านมาในชีวิตของฉัน อะไรหลายๆ อย่างประเดประดังเข้ามาในชีวิตพร้อมกัน สภาพจิตใจตอนนั้นสะบักสะบอมจนแทบจะยอมแพ้กับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เกือบจะตัดสินใจที่จะย้ายที่เรียนด้วยซ้ำไป ณ เวลานั้นฉันกล่าวโทษว่าทั้งหมดเป็นความผิดของแม่ เพราะสิ่งที่แม่สอนทำให้ฉันอ่อนแอ ทำให้ฉันกลายเป็นคนที่โดนเพื่อนหักหลัง กลายเป็นคนที่ยอมเป็นบันไดให้คนอื่นปีนไปหาความสำเร็จในขณะที่ตนเองกำลังจะจมลงไปในความผิดหวังและพ่ายแพ้ กลายเป็นคนโง่ที่ยอมให้อภัยกับมิตรเทียมซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลายเป็นคนที่ต้องอดทนกลืนความทุกข์ไว้เพียงลำพัง
เขียนถึง... แม่ -6
ความเป็น ‘ฉัน’ ในวันนั้นคือสิ่งที่ถูกแม่หล่อหลอมให้เข้ามาอยู่ในสังคมแห่งการเอาตัวรอด และกำลังจะไปไม่รอดเพราะทนรับทุกอย่างไว้ไม่ไหว แต่ก่อนที่ฉันจะตัดสินใจกับอนาคตของตัวเอง ฉันก็เลือกที่จะกลับบ้านกลับมาตั้งหลักยังสถานที่อันเป็นเหมือนฐานทัพทางจิตใจ ทันทีที่เท้าก้าวเข้าสู่ประตูบ้าน แม่ก็ยิ้ม…ยิ้มรับลูกสาวที่เดินกลับเข้ามาในบ้าน ไม่ถามอะไรทั้งสิ้น…ประโยคเดียวที่แม่พูดกับฉันในวันนั้นคือ…
“ไม่เป็นไรนะลูก…ไม่เป็นไร”
ไม่ใช่คำพูดของแม่หรอกที่ทำให้ฉันผ่านทุกอย่างมาได้ แต่เป็นเพราะแม่เป็นคนที่รอรับฉันอยู่หน้าประตูต่างหาก ที่ทำให้ฉันรู้สึกว่าโลกใบนี้อาจจะมีเรื่องราวมากมายที่บั่นทอนความรู้สึกของฉัน แต่ทุกอย่างมันจะกลับมาเติมเต็มจนล้นทุกครั้งเมื่อกลับมาถึงบ้านที่มี ‘แม่’ รอ
“แม่คะรู้ไหม…หนูอาจจะรักคนได้ทั้งโลกอย่างที่แม่บอก แต่วันนี้หนูรู้แล้วว่า…รักที่สุดของหนูอยู่ที่ใคร…หนูรักแม่นะคะ”

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งรัฐมลตรีของมาเลเซีย


การเลือกตั้งรัฐมลตรีของมาเลเซีย


        ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (พ.ค.) ปรากฎว่า พรรคแนวร่วมรัฐบาลสามารถคว้าชัยชนะไว้ได้อีกครั้ง ทำให้ได้ครองอำนาจต่อไปอีกเป็นปีที่ 56 ติดต่อกัน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ พ.ค. ว่า ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9 ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า ใน ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม แนวร่วมแห่งชาติ” นำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง



       นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500และเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 % หรือกว่า10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น.

      

        พรรคร่วมรัฐบาลมาเลเซียคว้าชัยเลือกตั้งทั่วไปเป็นปีที่ 56 ติดต่อกัน แต่ฝ่ายค้านประกาศไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ โดยเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ พ.ค. ว่า แม้พรรคร่วมรัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค จะเป็นฝ่ายชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ พ.ค. คงอำนาจต่อเนื่องเป็นปีที่ 56 แต่นายอันวาร์ อิบราฮิม หัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกาศยังไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ โดยเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น      ผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาล แนวร่วมแห่งชาติ” 13 พรรค ที่นำโดยพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ ( อัมโน ) ของนาจิบ สามารถคว้าที่นั่งในรัฐสภาได้ถึง 133 ที่นั่ง จาก 222 ที่นั่ง ขณะที่พรรคแนวร่วม ปากาตัน รัคยัต” หรือพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน พรรค นำโดยพรรคความยุติธรรมปวงชน ( พีเคอาร์ ) ของอันวาร์ ได้ไป 89 ที่นั่ง โดยมีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนมากถึง 10 ล้านคน จากทั้งหมด 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์      ทว่านาจิบถือเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษ 
       เมื่อปี2500 ที่ได้รับคะแนนนิยมประชาชนน้อยกว่าผู้สมัครจากพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน คือ 5.22 ต่อ 5.48 ล้านคะแนน อย่างไรก็ตาม ผู้นำมาเลเซียวัย 59 ปี ประกาศชัยชนะและขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งที่ออกมา ที่เป็นการตัดสินใจโดยบริสุทธิ์ของประชาชน เพื่อความปรองดองและสมานฉันท์ในอนาคต
ขณะที่อันวาร์ วัย 65 ปี ปฏิเสธยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมกับประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ ว่าเต็มไปด้วยการทุจริต ดังนั้น ผลคะแนนที่ออกมาจึงไม่มีความโปร่งใส่พอ แม้ปากาตัน รัคยัต จะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ ปีก่อนถึง 14 ที่นั่งก็ตาม แต่ก็ต้องสูญเสียที่นั่ง ใน รัฐที่เคยแย่งชิงมาจากฝ่ายรัฐบาล กลับคืนไปให้นาจิบในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น 13 รัฐ


      

      ด้านนายเจมส์ ชิน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ในสิงคโปร์ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเลือกตั้งของมาเลเซียครั้งนี้ว่า เป็นการต่อสู้กันอย่างสูสีที่สุด เนื่องจากนอกเหนือจากแรงกดดันภายนอกแล้ว ทั้งนาจิบและอันวาร์ต่างต้องเผชิญแรงเสียดทานภายในพรรคไม่แพ้กัน โดยนาจิบต้องการแย่งชิงที่นั่งที่เสียไปเมื่อปี 2551 กลับคืนมาให้ได้มากที่สุด เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นจากสมาชิกพรรค ซึ่งแม้จะทำไม่ได้ แต่อย่างน้อยพรรครัฐบาลก็ยังคงครองเสียงข้างมาก
อันวาร์จึงดูเหมือนเป็นฝ่ายตกที่นั่งลำบากมากกว่า และอาจถึงขั้นต้องอำลาเส้นทางการเมือง หลังประกาศชัดก่อนหน้านี้ว่า จะลาออกจากการเป็นหัวหน้าของปากาตัน รัคยัต หากเป็นฝ่ายพ่ายแพ้การเลือกตั้ง       มาเลเซียเปิดหย่อนบัตรเลือกตั้งทั่วไปแล้วเมื่อเช้าวันอาทิตย์นี้ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ที่อาจส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เมื่อฝ่ายค้านชูนโยบายปฏิรูปสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ พ.ค.ว่า นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค แห่งมาเลเซีย ได้ออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เพราะการหาเสียงอย่างดุเดือดในประเทศที่ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติและข้อกล่าวหาฉ้อโกง รวมถึงความรุนแรง       หน่วยเลือกตั้งต่างๆทั่วประเทศ ได้เปิดให้ลงคะแนนตั้งแต่เวลา 08.00 น.เช้าวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับ 07.00น.วันเดียวกันตามเวลาในประเทศไทย และ ปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 17.00 น. วันเดียวกัน ตรงกับ 16.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย จากนั้นก็จะเริ่มนับผลคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานก็คงจะทราบผลการเลือกตั้ง       ประชาชนชาวมาเลเซียรอคอยผลการเลือกตั้งครั้งนี้ นับตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปี 2551 เป็นต้นมา เพราะพรรคฝ่ายค้านสามารถผนึกกำลังต่อสู้กับพรรคพันธมิตรฝ่ายรัฐบาล ซึ่งกุมอำนาจรัฐมาโดยตลอด นับตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชเมื่อปี2500 เป็นต้นมา พรรคพันธมิตรฝ่ายรัฐบาล นำโดยพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ หรือ อัมโน ซึ่งมีนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ จะต้องสู้กับพันธมิตรฝ่ายค้าน สัญญาประชาชน นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยอยู่กับพรรคอัมโนมาก่อน ก่อนที่จะโดนมรสุมการเมืองกระหน่ำ จนต้องมาอยู่ฝ่ายค้าน แต่นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ผลออกมาสูสีกันมาก จนไม่สามารถคาดเดาได้ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ชนะ